การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ
(multidisciplinary)


เรื่อง ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

โดยทีมWisdomkruwat


๑. นายโกศล ศรีวรกุล                     ประธานทีม
๒. นางณิชากร สังข์เภา                  รองประธาน
๓. นางปัถยา วิเศษรจนาภ              สมาชิก
๔. นางสาวพิยะดา ม่วงอิ่ม             สมาชิก
๕. นางวีรวรรณ สกุลอินทร์             สมาชิก
๖. นายเสกสรรค์ เด่นดวงใจ           สมาชิก
๗. นางสาวกัลยารัตน์ ศาตรจีนพงษ์ สมาชิก
๘. นางสุจิตราภรณ์ สำเภาอินทร์    สมาชิก
๙. นางสาวเพ็ญนภา ธีรทองดี       เลขานุการ
๑๐. นายวิเชียร ทองน้อย
               ประชาสัมพันธ์ทีม
..........................................................................
ยินดีต้อนรับ...ทุกท่านด้วยความยินดี...!!
..........................................






แผนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เรื่องภาวะโลกร้อน

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- สถาวะแวดล้อม ภาวะโลกร้อน
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- ศึกษาสภาพชั้นบรรยากาศ
สาระการเรียนรู้ศิลปะ
- จัดป้ายนิเทศลดภาวะโลกร้อน
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- แต่งคำขวัญลดภาวะโลกร้อน
สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
- เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- คำนวณค่าไฟฟ้า / สถิติ
สาระสุขศึกษาและพลศึกษา
- ผลกระทบต่อสุขภาพ
ภาษาอังกฤษ
- แต่งคำขวัญภาวะโลกร้อน

โลกร้อน เกิดขึ้นได้อย่างไร

ขณะที่บ้านเราเจอภาวะฝนตกน้ำท่วม ไม่มีฤดูหนาว หรือแม้กระทั่งแผ่นดินไหวที่ จ.เชียงใหม่ อีกด้านในซีกโลกตะวันตก ผู้คนกำลังเผชิญหน้ากับภาวะโลกร้อน ร้อนจนร่างกายทนไม่ไหว ทำให้คนในยุโรปเสียชีวิตถึง 30,000 ศพ และในอินเดีย มีผู้เสียชีวิตไป 1,500 ศพ เมื่อปี 2003 ที่ผ่านมา
เหตุที่เกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ในทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่า เป็น “ภาวะโลกร้อน” อันเป็นผลจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซ อื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าซเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนา ๆ ดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์ และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้น ยิ่งก๊าซเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งเมื่อเกิดปรากฎการณ์เหล่านี้อาจส่งผลให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะสูญพันธ์ บางพื้นที่อาจประสบปัญหาน้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลาย ทำให้ปริมาณ น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบ บางพื้นที่อาจจมหายไปอย่างถาวร และประชาชนอาจจะเจอคลื่นความร้อนที่มีอำนาจทำลายล้างแรงกว่าที่เคยพบมา
เหตุการภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกำลังเตือนภัยอะไรเราชาวโลก ซึ่งหากเรายังปล่อยให้เกิด "ภาวะโลกร้อน" อยู่เช่นนี้ เชื่อได้ว่า อาจเกิดปรากฎการณ์ความจริง ช็อกหัวใจชาวโลกขึ้นอีกครั้งแน่นอน ทางแก้ที่ดีที่สุดก็คือ ทุกคนต้องลดใช้พลังงาน อันเป็นบ่อเกิดของมลพิษเพื่อให้โลกได้ปรับสมดุล และช่วยกันปลูกป่า เพื่อให้ธรรมชาติกลับคืนมาโดยเร็วที่สุด ไม่งั้น หากเกิน 10 ปี โลกเราอาจเข้าสู่จุดที่ไม่ สามารถกลับตัวได้


อูย.....ช่วยด้วย ร้อนจังเลย

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ก๊าซเรือนกระจก
ในบรรยากาศเป็นสิ่งขวางกั้นแสงอินฟราเรดที่โลกสะท้อนกลับจากพื้นผิวสู่บรรยากาศได้เหมือนกับแสงสว่าง ดังนั้น พลังงานที่ส่งออกจากพื้นผิวของโลกจึงเป็นการส่งออกโดยกระแสลมและเมฆที่อยู่บนชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นไปด้วยก๊าซเรือนกระจก
ปรากฏการณ์ที่ความร้อนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศนี้ เป็นที่รู้จักกันว่า "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (Greenhouse Effect) เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพที่เกิดขึ้นภายในเรือนกระจกที่ใช้สำหรับปลูกพืชในประเทศเขตหนาว โดยแสงแดดสามารถส่องผ่านให้ความอบอุ่นภายในเรือนกระจกได้ แต่กระจกสามารถสะท้อนไม่ให้ความร้อนออกไปจากเรือนกระจกได้ จึงสามารถคงอุณหภูมิภายในเรือนกระจกไม่ให้หนาวเย็นเหมือนภายนอกได้
ก๊าซเรือนกระจกคืออะไรก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราาะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดย
พิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ ของ
ของมนุษย์ กำลังเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ (อาจยกเว้นไอน้ำ) การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติรวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การทำการเกษตรและการปศุสัตว์ปล่อยก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ปล่อยก๊าซโอโซน นอกจากนี้ กระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมปล่อยสารฮาโลคาร์บอน (CFCs, HFCs, PFCs)
การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกนั้น ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความสามารถในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดยังมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential: GWP) ที่แตกต่างกัน ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนของโมเลกุล และขึ้นอยู่กับอายุของก๊าซนั้นๆ ในบรรยากาศ และจะคิดเทียบกับการแผ่รังสีความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 20 ปี 50 ปี หรือ 100 ปี โดยค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ในช่วงเวลา 100 ปี ของก๊าซเรือนกระจกต่างๆ

ก๊าซเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจก


ตารางก๊าซเรือนกระจก

ตารางก๊าซเรือนกระจก

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

เราแน่ใจเพียงใดว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีปรากฏการณ์หลายประการแสดงให้เห็นว่าในระยะหลังนี้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคุกคามต่อการดำรงชีพของมนุษย์ แต่ไม่มีใครแน่ใจว่าผลกระทบในอนาคตจะเป็นอย่างไร มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน คาดว่าการตอบสนองต่อการคุกคามนี้จะมีความซับซ้อนและยุ่งยากเป็นอย่างยิ่งอย่างไรก็ดี ในขณะที่ประชาคมโลกส่วนใหญ่หวั่นวิตกว่าผลกระทบจะมีความรุนแรงมหาศาล แต่บางคนยังถกเถียงว่านักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นกังวลว่าจะเกิดขึ้นนั้นจะมีจริง นอกจากนั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าภูมิภาคใดของโลกจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงแม้การคาดการณ์ต่าง ๆ ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่หากมวลมนุษย์ในโลกยังรอให้ผลกระทบเกิดขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว อาจจะสายเกินไปในการดำเนินการตอบสนอง เราควรจะทำอย่างไรดีกับกรณีเช่นนี้ในวงการนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่นั้น ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นปัญหาสำคัญหรือไม่ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ผลกระทบจะเป็นอย่างไร และจะติดตามผลกระทบเหล่านั้นได้ดีที่สุดอย่างไร แบบจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออื่น ๆ ที่สามารถจำลองความซับซ้อนของระบบภูมิอากาศของโลกยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนปราศจากความคลุมเครือได้ อย่างไรก็ดี ในขณะที่คำถามว่า เมื่อไร ที่ไหน และอย่างไรยังมีความไม่แน่นอน ภาพรวมที่ได้จากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศทั้งหลายชี้ให้เห็นสิ่งที่มนุษยชาติต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่น
คาดการณ์ว่าสภาพฝนในภูมิภาคจะเปลี่ยนแปลง วงจรการระเหยของน้ำในระดับโลกจะเร็วขึ้น หมายความว่าจะมีฝนตกมากขึ้น แต่ฝนก็จะระเหยเร็วขึ้น ทำให้ดินแห้งแล้งมากขึ้นในช่วงสำคัญของฤดูปลูกพืช สภาวะแห้งแล้งใหม่หรือที่แห้งแล้งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศยากจน จะทำให้ปริมาณน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคน้อยลงส่งผลเสียต่อสุขอนามัยประชาชน เนื่องจากภาพจำลองระดับภูมิภาคยังมีความไม่แน่นอนสูง นักวิทยาศาสตร์จึงยังไม่สามารถประเมินความเสี่ยงต่อปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงในระดับภูมิภาคได้ อย่างไรก็ดี ในระดับโลกการขยายตัวของประชากรและเศรษฐกิจสังคมได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำอยู่แล้ว อันตรายของปัญหาทรัพยากรน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
สภาพภูมิอากาศและเขตพื้นที่ทำการเกษตรอาจเคลื่อนย้ายไปยังขั้วโลก หากโลกร้อนขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ความแห้งแล้งในฤดูแล้งที่เพิ่มขึ้นจะลดผลผลิตต่อไรของพืชในแถบอบอุ่น โอกาสที่พื้นที่การเกษตรที่สำคัญบางพื้นที่ (เช่น พื้นที่ราบลุ่มในอเมริกา) จะได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งมากขึ้น เขตภูมิอากาศและเขตเกษตรในภูมิภาคที่เป็นเขตอบอุ่นจะเคลื่อนย้ายไปในทิศทางสู่ขั้วโลกเป็นระยะทางระหว่าง 150-550 กิโลเมตร ดังนั้น พื้นที่เกษตรที่อยู่ระหว่างรอยต่อของเขตอบอุ่นกับขั้วโลก ภาคเหนือของแคนนาดา สแกนดิเนเวีย รัสเซีย ญี่ปุ่นในเขตซีกโลกเหนือ และชิลีตอนใต้แลอาเจนตินาในเขตซีกโลกใต้ อาจได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภูเขาน้ำแข็งละลายและการขยายตัวของน้ำทะเลอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเป็นอันตรายต่อพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง

โลกร้อนขึ้นจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกระหว่าง 15-95 เซนติเมตร ภายในปี พ.ศ. 2643 (ระดับคาดการณ์ที่ดีที่สุดอยู่ที่ 50 เซนติเมตร)

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

การคำนวณค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคในแต่ละเดือน
โดยการกรอกแบบสอบถามคำนวณว่า "คุณทำลายโลกด้วยภาวะโลกร้อนในระดับไหน (Carbon Calcuator) ที่
http://www.whyworldhot.com/solving-global-warming/

คุณทำลายโลกร้อนในระดับไหน

คุณทำลายโลกร้อนในระดับไหน

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

10 วิธีง่ายๆในการหยุดโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน ที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรง คุณสามารถช่วยกันลด ภาวะโลกร้อน ได้ง่ายๆ ด้วย 10 วิธีต่อไปนี้

1. เปลี่ยนหลอดไฟการเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟหนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี
2. ขับรถให้น้อยลงหากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนตร์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์
3. รีไซเคิลของใช้ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งนึงจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี
4. เช็คลมยางการขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติน้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์
5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลงในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์
6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะเพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี
7. ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ(สำหรับเมืองนอก)ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง 2 องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น 2 องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี
8. ปลูกต้นไม้การ ปลูกต้นไม้ หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน
9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช่ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี
และอย่างสุดท้าย10. บอกเพื่อนๆของคุณเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้

อีกความคิดหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน
1. ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ พัดลลม หากเป็นไปได้ ใช้วิธี เปิดหน้าต่าง ซึ่งบางช่วงที่อากาศดีๆ สามารถทำได้ เช่นหลังฝนตก หรือช่วงอากาศเย็น เป็นการลดค่าไฟ และ ลดความร้อน เนื่องจากหลักการทำความเย็นนั้นคือ การถ่ายเทความร้อนออก ดังนั้นเวลาเราใช้แอร์ จะเกิดปริมาณความร้อนบริเวณหลังเครื่องระบายความร้อน
2. เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมลล์เนื่องจากพาหนะ แต่ละคัน จะเกิดการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งจะเกิดความร้อน และ ก็ซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อลดปริมาณจำนวนรถ ก็จะลดจำนวนการเผาไหม้บนท้องถนน ในแต่ละวันลงได้
3. เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้า หากมีใครเปิดประตูทิ้งไว้ ให้ช่วยปิดด้วยเนื่องจากห้างสรรพสินค้าแต่ละห้างนั้น มีพื้นที่มาก กว่าจะทำให้เกิดความเย็นได้ ก็จะก่อให้เกิดเกิดความร้อนปริมาณมาก ดังนั้นเมื่อมีคนเปิดประตูทิ้งไว้ แอร์ก็จะยิ่งทำงานมากขึ้นเพื่อให้ได้ความเย็นตามที่ระบุไว้ในเครื่อง ซึ่งประตูที่เปิดอยู่จะนำความร้อนมาสู่ตัวห้างเครื่องก็จะทำงานวนอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความร้อนอีกปริมาณมากต่อสภาพภายนอก
4. พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวมๆกันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก
5. ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และ ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรีอนกระจก
6. การชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้
7. เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่นขวดน้ำพยายามนำกลับมาใช้อีก เนื่องจากพลาสติกเหล่านี้ทำการย่อยสลายยาก ต้องใช้ปริมาณความร้อน เหมือนกับตอนที่ผลิตมันมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกของเราเราสามารถนำกลับมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำแทนกระติกน้ำได้ หรือใช้ปลูกต้นไม้ก็ได้
8. ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ อุจจาระจะปล่อยก๊าซมีเทนอออกมา ดังนี้นอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้ เมื่อมีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกเรามาก
9. ใช้กระดาษด้วยความประหยัด กระดาษแต่ละแผ่น ทำมาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งเป็นเสมือนปราการสำคัญของโลกเรา ดังน้นการใช้กระดาษแต่ละแผ่นควรใช้ให้ประหยัดทั้งด้านหน้าหลัง ใช้เสร็จควรนำมาเป็นวัสดุรอง หรือ นำมาเช็ดกระจกก็ได้ นอกจากนี้การนำกระดาษไปเผาก็จะเกิดความร้อนต่อโลกเราเช่นกัน
10. ไม่สนับสนุนกิจการใดๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกเรา และควรสนับสนุนกิจการที่มีการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม
สรุปว่า กิจกรรมจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ นั้น จะส่งผลให้เกิดความร้อนต่อโลกเรา- เครื่องปรับอากาศ เช่นเดียวกัน สร้างให้เกิดความร้อนต่อโลก เนื่อง เป็นการระบายความร้อนจากบริเวณที่เราต้องการให้เย็นสู่-ภายนอก ก็คือ สิ่งแวดล้อมนั่นเองยิ่งปริมาณพื้นที่มาก ปริมาณความร้อนที่เกิดจากการปรับอากาศยิ่งสูง- ปริมาณ พลาสติก ที่ผลิตกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ต้องใช้ความร้อนเผาไหม้ในการทำลาย ซึ่งนอกจากใช้ความร้อนจำนวนมากแล้ว ยังเกิดสารเคมีลอยขึ้นไปปกคลุมโลกของเรา กลายเป็นลักษณะของกระจก- ยานพาหนะ ที่ใช้น้ำมันในปัจจุบัน นอกจากความร้อนระหว่างการเผาไหม้แล้วยังเกิด ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งส่งผลต่อภาวะเรือนกระจก ดังนั้น การใช้การเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชน ไปกันหลายๆคน ต่อครั้ง ก็จะลดปริมาณการเผาไหม้- และ กิจกรรมอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาที่ทำให้เกิดความร้อน และ สารเคมี ย่อมส่งผลต่อภาวะโลกร้อน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ก่อนที่จะนำความรู้เรื่อง ภาวะโลกร้อนไปจัดนิทรรสการหรือจัดป้ายนิเทศ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการก่อน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
การจัดแผ่นป้าย (board)
หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปหลายแบบ
1. ประเภทของแผ่นพับ
1.1 จำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่ - ไม้ เป็นวัสดุแข็งแรง สามารถตกแต่งดัดแปลงได้ง่าย สะดวกในการใช้งาน เหมาะกับการทำแผ่นป้าย
- พลาสติก เป็นวัสดุสังเคราะห์ มีหลายชนิด ชนิดที่สามารถนำมาทำแผ่นป้ายได้มีลักษณะเป็นแผ่น ขนาดความกว้างยาวเท่ากับไม้อัด
- โลหะ เป็นวัสดุที่มีความทนทานที่สุด แต่มีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะเหล็กแผ่นหรือสแตนเลสแผ่น
1.2 จำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่
- ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ สามารถนำไปติดตั้งในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ จึงจำเป็นต้องมีขาตั้งที่มั่นคง
- ป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เป็นป้ายนิเทศน์ที่ติดตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่งอย่างถาวร ซึ่งอาจเป็นฝาผนัง หรือบริเวณพื้นที่ที่สวยงามเหมาะสม
2. เทคนิคการจัดทำแผ่นป้าย
2.1 แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร มีลักษณะแต่ละป้ายติดตายตัวกับขาตั้งได้อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งพิงเกาะเกี่ยวกับวัสดุอื่น
2.2 แผ่นป้ายอิสระ เป็นแผ่นป้ายอิสระ ไม่ยึดติดกับขาตั้งสามารถถอดประกอบกับขาตั้ง และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้
2.3 แผ่นป้ายแบบแขวน เป็นแผ่นป้ายไม่ยึดติดกับขาตั้งโดยตรง สามารถถอดประกอบได้ การติดตั้งต้องใช้วิธีแขวนกับราวหรือกรอบที่ทำไว้รองรับโดยเฉพาะ ซึ่งอาจต่อเติมเสริมแต่งให้มีหลังคาขึงด้วยผ้าดิบ
2.4 แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส (s) เป็นแผ่นป้ายที่ทำจากแผ่นพลาสติกหรือแผ่นโลหะ วัสดุทำแผ่นป้ายสามารถดัดให้เป็นรูปทรงตามต้องการได้ ทำให้ผู้ชมได้เห็นรูปทรงแผ่นป้าย ที่แปลกตาและสนใจ
2.5 แผ่นป้ายแบบกำแพง มีความหนาเป็นพิเศษ ด้านล่างยึดติดกับฐานกล่องรูปสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมทำให้สามารถวางตั้งได้ตามลำพังการจัดป้ายนิเทศป้ายนิเทศเป็นสื่อทัศนวัสดุประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นแผ่นป้ายที่ทำหน้าที่เสนอเนื้อหา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ผู้ชมได้เรียนรู้ตามความเหมาะสม
1. คุณค่าของป้ายนิเทศเป็นสื่อเร้าความสนใจผู้ชมโดยใช้รูปภาพ ข้อความ และสัญลักษณ์ที่สวยงาม มีความหมายต่อผู้ชม ซึ่งประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อความหมาย เพื่อถ่ายทอดความรู้
2. หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ์ การจัดป้ายนิเทศน์ให้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นความสนใจ และการสื่อความหมายคำนึงถึงหลักต่อไปนี้
- การกระตุ้นความสนใจ สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจผู้ชมได้ด้วยความเด่น สะดุดตา จากองค์ประกอบด้านสี เส้น พื้นผิว ขนาด รูปร่าง
- การมีส่วนร่วม สามารถกระตุ้นให้เกิดความต้องการ เมื่ออ่านหรือชมป้ายนิเทศ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากมี อยากได้ อยากทดลอง
- การตรึงความสนใจ สามารถรักษาความสนใจให้คงอยู่ตั้งแต่ต้นจนจบ
3. การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
- การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ (window) เป็นการจัดเพื่อเน้นรายละเอียดด้วยรูปภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว ทำให้ภาพมีความโดดเด่นเหมาะกับเนื้อหา ต้องการถ่ายทอดรายละเอียดของความรู้และความรู้สึกด้วยรูปภาพ
- การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus) เป็นการจัดภาพที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ผู้ชมมีอิสระในการเลือกชมรูปภาพหรือเลือกอ่านเนื้อหาตามใจชอบ การจัดภาพแบบละครสัตว์จึงเหมาะกับเนื้อหาที่มีหลายหัวข้อย่อย
- การจัดภาพแบบแกน (axial) เป็นการจัดภาพอยู่ตรงกลาง และมีคำอธิบายกำกับทางด้านซ้ายหรือด้านขวา
- การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame) เป็นการจัดโดยนำภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวางเรียงต่อกัน ล้อมรอบเนื้อหาข้อความ
- การจัดภาพแบบตาราง (graid) เป็นการจัดภาพไว้ในตารางซึ่งอาจเว้นช่องใดช่องหนึ่ง หรืออาจขยายภาพใดภาพหนึ่ง เพื่อให้เกิดจังหวะระหว่างรูปภาพ ทำให้ดูแปลกตา
- การจัดภาพแบบแถบ (band) เป็นการจัดรูปภาพและเนื้อหาที่เรียงตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสุดท้าย แสดงให้เป็นลำดับขั้น เช่น การขับรถยนต์ การทำนา การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- การจัดภาพแบบทางเดิน (path) เป็นการจัดให้รูปภาพหรือเหตุการณ์เรียงกันอย่างต่อเนื่อง ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งการกำหนดบริเวณว่างในนิทรรศการ
บริเวณว่างเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดนิทรรศการ สามารถทำให้นิทรรศการมีคุณค่าและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ชมเกิดความพึงพอใจในประโยชน์ใช้สอย และความงามจากการออกแบบและการกำหนดบริเวณว่างที่เหมาะสม การเดินชมรู้สึกผ่อนคลาย จึงควรคำนึงถึงลักษณะและการออกแบบบริเวณว่างดังนี้
1. ลักษณะของบริเวณว่างบริเวณว่างมีสองลักษณะ ได้แก่ บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย บริเวณว่างทั้งสองลักษณะมีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบซึ่งกันแลกันเสมอ
2. การออกแบบบริเวณว่าง
- การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง องค์ประกอบแนวตั้งโดยปกติจะกินพื้นที่อากาศในแนวดิ่ง มองโดยรวมจะเป็นเส้นตั้ง ช่วยกำหนดขอบมุมของปริมาตรของที่ว่าง แต่ถ้ากำหนดให้มีองค์ประกอบลักษณะเดียวกันมากกว่า 2 องค์ประกอบขึ้นไป และวางในตำแหน่งมุมต่างกันที่ไม่ใช่แถวเดียวกัน เช่น การวางเสาจำนวน 4 ต้น แต่ละต้นวางไว้ตามมุมของพื้นที่สี่เหลี่ยม จะก่อให้เกิดปริมาตรของบริเวณว่างระหว่างเสาทั้ง 4 ต้น
- การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล (L) หรือระนาบมุมฉาก ช่วยสร้างปริมาตรของที่ว่างในมุมฉาก เป็นระนาบแนวตั้งสองด้านบรรจบกันที่มุมใดมุมหนึ่ง ก่อให้เกิดสนามบริเวณว่างจากมุมตามแนวทแยงมุม การรวมตัวกันของบริเวณว่างที่เกิดจากระนาบแนวตั้งทั้ง 2 ด้าน สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้จากมุมกว้าง ให้มุ่งไปยังจุดสนใจเพียงจุดเดียว
3. การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาการใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรม ควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชม โดยเฉพาะลูกค้าใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใดๆ ทุกชนิด ระหว่างทางสัญจรภายนอกกับบริเวณภายในนิทรรศการ เช่น พื้นที่ต่างระดับกัน การใช้เส้นขวางหรือสีกำหนดขอบเขต โต๊ะ แผงกั้นราว ตู้ ชั้นวางสิ่งของ

ศิลปะกับภาวะโลกร้อน
วิทยาศาสตร์กับทัศนญาณหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Calfonia Polytechnic Stat University, San Luis Obispo และ San Jose State University จัดงาน "นิทรรศการศิลปะไทย-อเมริกัน 2007 Artist & World Environment" ซึ่งเป็นการเวิร์กช็อปร่วมกัน ระหว่างศิลปินอเมริกันและไทย ในประเด็นฮ็อตๆ อย่างภาวะโลกร้อน จนได้งานศิลปะออกมา แล้วจะนำไปจัดแสดงทั้งในไทยคือที่หอศิลป์ ม.ศิลปากร และในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นศิลปินไทยก็จะบินไปเวิร์กคช็อปกับศิลปินที่อเมริกาอีกรอบ"สน ศรีมาตรัง" ผู้อำนวยการหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า นี่เป็นโครงการแลกเปลี่ยนที่จัดต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปีแล้ว เริ่มจากการที่ California Polytecnic State University มาทัศนศึกษาเพื่อศึกษาศิลปะในประเทศไทย โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ประสานงานให้ ซึ่งในปีหลังได้เพิ่มในส่วนของการเวิร์กช็อปร่วมกัน ซึ่งในส่วนการเวิร์กช็อปร่วมกันนั้น ปีนี้ก็เป็นครั้งที่ 3 แล้ว
"เจตนารมณ์ดังกล่าว เป็นเรื่องของการเปิดโลก ให้ศิลปินไทย และเปิดมุมมอง ให้ศิลปินทั้ง 2 ประเทศ แล้วก็เป็นการสร้างเครือข่าย ของศิลปินไว้ด้วย"ในปีนี้นั้นมีการตั้งประเด็น เกี่ยวกับภาวะโรคร้อน ซึ่งเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมโลก ที่หลายคนอาจจะมองว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์มากๆ แล้วศิลปะ ที่เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก จะอธิบาย หรือสะท้อนเรื่องเหล่านี้อย่างไร"ถาวร โกอุดมวิท" ศิลปินชาวไทยที่มีส่วนร่วมในงานนี้แสดงทรรศนะว่า ในปัจจุบันมนุษย์มักจะคิดเห็นเอาจากสิ่งที่เห็น แล้วตั้งเป็นสมมติฐานกับโลก แต่ที่จริงแล้วยังมีข้อเท็จจริงภายในที่เกิดจากการรับรู้ภายใน หรือที่สมัยโบราณเรียกกันว่า "ทัศนญาณ" ซึ่งคนมักจะลืมไป"เรื่องโลกร้อนเป็นประเด็นในระดับที่มันเข้ามากระทบกับตัวตนภายใน เป็นเรื่องของทัศนญาณที่ไปกระทบคนฟัง ศิลปินมีหน้าที่เปิดประเด็นในความรู้สึก ซึ่งถ้าเปิดได้ สิ่งที่เกิดขึ้นจะฝังใจมากกว่าคำพูด หรือข้อมูลที่ได้จากวิทยาศาสตร์ หรือการรณรงค์อะไรอีก"ถาวรกล่าวด้วยว่า ถึงขณะนี้เรื่องโลกร้อนไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งแล้ว แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมโลกที่จะต้องตระหนัก และศิลปินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จะต้องเผยแพร่ความรู้สึกเหล่านี้ ออกไปสู่คนในวงกว้าง

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

การแต่งกลอนสุภาพรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน
ลักษณะของกลอนสุภาพ 1 บทมี 4 วรรค วรรละ 8 - 9 พยางค์ 8 พยางค์ไพเราะที่สุด สัมผัสบังคับของกลอนสุภาพเป็นสัมผัสสระตามแผนผัง
เมื่อทราบแผนผังของกลอนสุภาพแล้ว ลองแต่งกลอนสุภาพลดภาวะโลกร้อน

แผนผังกลอนสุภาพ

แผนผังกลอนสุภาพ

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา

ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างกว้างขวางเนื่องจากสุขภาพขึ้นอยู่กับอาหารที่เพียงพอ น้ำดื่มที่สะอาด ที่อยู่อาศัย สภาพสังคมที่ดีและสิ่งแวดล้อมกับเงื่อนไขของสังคมที่เหมาะสมในการควบคุมเชื้อโรคติดต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อปัจจัยเหล่านี้ได้
การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศที่รุนแรงหรือบ่อยขึ้น เช่น คลื่นความร้อนอุทกภัย พายุ สภาวะแห้งแล้งจะเป็นภัยคุกคามและอาจก่อให้เกิดภัยถึงชีวิตและบาดเจ็บสภาวะขาดอาหาร การโยกย้ายถิ่นฐานของมนุษย์ การระบาดของโรคและปัญหาสุขภาพจิต ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังไม่แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความถี่ของพายุอย่างไร พวกเขาก็ได้คาดการณ์ว่าภูมิภาคบางแห่งจะเกิดอุทกภัยหรือสภาวะแห้งแล้งมากขึ้น นอกจากนั้น น้ำท่วมชายฝั่งก็อาจเลวร้ายลงเนื่องจากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น
คลื่นความร้อนเกี่ยวโยงกับโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ ความเจ็บป่วยและการสูญเสียชีวิตจากสาเหตุเหล่านี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นและผันผวนมากขึ้นจะทำให้คุณภาพอากาศในเมืองหลายเมืองแย่ลง ในขณะเดียวกัน อากาศหนาวที่น้อยลงในพื้นที่เขตอบอุ่นอาจลดการสูญเสียชีวิตเนื่องจากความหนาวเย็นได้เช่นกัน
เกิดผลกระทบต่อการกระจายของเชื้อโรค เมื่อโลกร้อนขึ้น พาหะนำเชื้อโรค เช่น ยุง หนู สามารถแพร่ขยายไปยังพื้นที่แถบเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีการคาดประมาณว่าประมาณร้อยละ 45 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะต่อการแพร่กระจายของมาลาเรีย แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชี้ให้เห็นว่าการแพร่ขยายของพื้นที่เสี่ยงต่อมาลาเรียเป็นไปได้สูง ทั้งตามแนวเส้นรุ้งและเส้นแวงการศึกษาโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยก็แสดงแนวโน้มเช่นเดียวกัน
ปริมาณน้ำจืดที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การลดลงของปริมาณน้ำจืดทำให้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคลดน้อยลง ทำให้ประชาชนต้องใช้น้ำที่ไม่สะอาด เช่น จากแม่น้ำโดยตรง ซึ่งบ่อยครั้งพบว่ามีมลพิษมาก ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เกิดการปัญหาการระบาดของโรคที่เ· ปัญหาความมั่งคงทางอาหารในพื้นที่ล่อแหลมจะมากขึ้น ปริมาณอาหารในท้องถิ่นที่ลดลงอาจส่งผลต่อทุพภิกขภัยและปัญหาการขาดสารอาหารซึ่งส่งกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กกี่ยวกับทางเดินอาหารได้มากขึ้น
ประชาชนต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยที่สุด มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพหลายมาตรการ เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพในประเทศที่ปัญหาสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การกำหนดกลยุทธ์ในการปรับต้วรวมถึงการสอดส่องดูแลโรคระบาด โปรแกรมสุขอนามัย การเตรียมพร้อมด้านอุบัติภัย การปรับปรุงการควบคุมคุณภาพน้ำและมลพิษต่างๆ การศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนอุปนิสัยของมนุษย์ การฝึกอบรมบุคลากรด้านสาธารณสุขและการนำเอาเทคโนโลยีด้านการป้องกันมาใช้ เช่น การปรับปรุงที่อยู่อาศัย ระบบปรับอากาศ การทำน้ำให้สะอาดและการฉีดวัคซีน เป็นต้น


ศิลปะกับโลกร้อน

ศิลปะกับโลกร้อน

กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ

Global Warming
Warm-up
How green are you?
Do the following quiz to find out how ‘green’ you are. Check the answers with your teacher afterwards. One point for every correct answer.
1) You are busy in your house tidying up going from room to room spending 5 to 10 minutes in each.
Which is the best way to save energy?
a) Switch the lights on and off every time you move from room to room
b) Keep the lights on as you move about the house
2) You are hungry and want to bake a potato. Which method is ‘greener’?
a) Put it in an electric oven for an hour
b) Quickly zap it in the microwave
3) You are thirsty so you go to a café้ to buy a drink. What do you choose?
a) A bottle of mineral water
b) A cup of coffee in a polystyrene cup
4) You need a new shirt / blouse and there are two that you like in the shop. You look at the label and see that one is made of 100% pure natural cotton and the other is 50% polyester. You want to be as environmentally friendly as you can. Which one do you choose?
a) The 100% cotton shirt
b) The 50% polyester shirt
5) Do you leave the tap on when you brush your teeth?
a) Yes b) No
6) As well as putting their health and the health of those around them in danger, smokers also put the environment in danger.
a) True b) False
7) Which is the ‘greenest’ way to wash your clothes?
a) Machine wash in cold water
b) Hand wash in hot water
8) Which form of transport is better for the environment?
a) Driving by car
b) Flying by plane
9) When you go to the supermarket how do you take your shopping home?
a) In plastic carrier bags from the supermarket
b) In your own bag or basket
10) If you have the choice, how do you prefer to buy a cold drink in a caf้?
a) In a can b) In a glass bottle
How many did you get right?

1-3 You have a lot of changes to
make if you want to be
greener.
4-6
Not bad! You know about how
you can help the planet. You
are quite green.
7-10
Well done - you have a very
green head on your shoulders!

Target Vocabulary
I : SYNONYM MATCH:
Match the following synonyms from the article:
a. speed vanished
b. completely beginning
c. images turn around
d. disappeared pictures
e. worrying present
f. recover rate
g.reverse disturbing
h. current drop
i. decline bounce back
j. underway totally
II: Guess and write the best meaning.
Words Meaning Thaimeaning
1.expert someone with
special skills or
knowledge of a
subject, gained as
a result of training
or experience:
2. satellite a machine that has
been sent into space
and goes around the
Earth in order to send
and receive electronic
information:
3.melt to change something from
solid to liquid by heating
4. reflect if a surface reflects light,
heat, or sound, it sends
back the light, etc. that
hits it:
5. estimate to judge the value,
size, etc. of something:
6.increase to become larger in number,
amount, or degree or make
something do this
7. decade a period of ten years
Reading
Put the words in the column on the right into the gaps in the text.
Global warming
Threatens Arctic
BNE: The Arctic ice is ________ at a dangerous speed and may completely ________ by the end of this century. This is________ to scientists at
America’s National Snow and Ice Data Centre (NSIDC).Experts said recent satellite images showed the______ of sea ice was the lowest it has________ been. An area five ________ larger than the UK has disappeared since 1978 and the melting is getting faster.
This year was the warmest ________ summer in 400 years. Dr. Mark Serreze from the NSIDC said the worrying ________ of melting ice caps is because of global warming.
The NSIDC’s ________ Dr. Ted Scambos said the Arctic Circle is melting so quickly that it may never ________. He said the Arctic is caught in a dangerous ________ that man cannot
reverse. Less sea ice means the Earth cannot reflect the suns rays and ________ itself. Warmer seas then melt more ice. The ________ of sea ice in one year increases the loss in the next year. Current ice loss is ________ at eight percent per decade. This means there may be no ice at all ________ the Arctic summer of 2060. Dr. Scambos warned: “It is _______certain a long-term decline is underway.”
- volume - according - disappear
- trend - melting - ever
- times - Arctic - estimated
- pretty - cool - recover
- during - leader - loss
- process
Discussion
Student A’s Questions (Do not show these to student B)
Questions You Your Partner
1. What did you think
when you first
reading this headline?
2. Are you worried
about the ice melting?
3.Do you think melting
ice caps will affect your
life?
4.Do you think the
melting of the Arctic
is the beginning of the
end of the world?
5.What things are you
pretty certain will
happen because of
global warming?
6.Who is responsible
for reversing global
warming, our governments
or us?
7.Do you think governments
are prepared for the more
violent weather created by
global warming?
8.What can we do everyday
to reverse global warming?
How to Write a Slogan that Sticks
Here’s some good advice from Laura Lake,
When you think of slogans, what comes to mind? What brand can you recite a slogan for immediately?
Take for example the following slogans that have made their way into the memory of thousands:
· Just Do It - Nike
· This Buds for You - Budweiser
· Have it Your Way! - Burger King
· We Bring Good Things to Light - GE
· We’ll Leave the Light on For Ya! - Motel 6
Zoom! Zoom! - Mazda
Use the six components below to test your slogan and make sure it has what it takes to make it stick.
Here’s How:
1. Make it Memorable - Your slogan must be memorable. Make it easy to remember, something they want to brand in their memory and possibly even repeat to others. Take for example the above slogans, when you first heard them what was it that made them stick with you?
2. Key Benefits - Your slogan must contain a key benefit of the product or service. Give them a reason to remember it.
3. Differentiate Your Brand - It must differentiate your brand. Does it bring out the character of the product or services that sets it apart from your competitors?
4. Solidify the Brand - It must recall the brand name otherwise who cares who remembers it. The brand can be depicted in the words you use or in the image of your logo.
5. Rhythm and Rhyme - Create rhythm and rhyme. Does it rhyme? Does it have a ring to it? The rhythm of the tagline will help to stick in the memories of those that read it or hear it.
6. Warm and Fuzzy Effect - Make it warm and fuzzy. Does your slogan leave people feeling warm and fuzzy? Does it bring a smile to their face or perhaps even a little chuckle? A slogan is more likely to stick in the minds of others if it imparts a positive feeling or emotion.

แลกเปลี่ยนเรียนรู้..ของ ทีม wisdomkruwat